ประแจเครื่องมือช่างที่ต้องมี ชนิดของประแจพร้อมรูป
วิธีใช้ประแจ, หน้าที่, ประแจเป็นเครื่องมือช่างขาดไม่ได้ เพราะเป็นด่านแรกที่จะทำการเปิดประตูซ่อม ไม่ว่าช่างซ่อมเครื่อง ซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ซ่อมประปา ติดตั้งงานต่างๆ ขันเกลียว น๊อต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์เช่นน๊อต ผลิตจากเหล็กกล้าโดยส่วนใหญ่ประเภทของประแจ พร้อมรูป
ประแจคอม้า (straight pipe wrench)
ประแจ, ประแจคอม้า |
ผู้สร้าง ประแจชนิดนี้ออกแบบโดย Daniel C. Stillson เมื่อ ค.ศ. 1869 [1] บางครั้งจึงเรียกว่า ประแจ Stillson
ประแจเลื่อน ( Crescent wrench)
ประแจ, ประแจเลื่อน |
ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench)
ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench), http://www.inventor.in.th/ |
ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench) หน้าที่ เป็นประแจ ที่มีปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบมากที่สุด ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวชำรุดเสียหายได้
ประแจปากตายเดี่ยว
ประแจปากตายเดี่ยว |
ประแจปากตายเดี่ยว เป็นประแจที่คล้ายกับ ประแจปากตายคู่ ต่างกันเพียงมีประแจด้านเดียว ส่วนอีกด้านเป็นด้ามจับ การใช้งานก็เหมือนกัน
ประแจแหวนคู่
ประแจแหวนคู่ |
ประแจแหวนคู่ ทำหน้าที่ จับแป้นเกลียวและสลักเกลียวให้กระชับและมั่นคงมากขึ้น โดยที่ปลายทั้ง 2 ด้านมีลักษณะเป็นวงแหวน และภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวอยู่ประมาณ 6-12 เขี้ยว
ประแจแหวนเดี่ยว (Single Offset Ring Wrench)
ประแจแหวนเดี่ยว (Single Offset Ring Wrench) ทำหน้าที่ เหมือนกับประแจแหวนคู่ แต่มีด้ามสำหรับงานที่ต้องการความแน่น ซึ่งต้องมีด้ามต่อเพื่อรับน้ำหนักในการขันให้แน่น
ประแจกระบอก(Socket Wrench)
ประแจกระบอก(Socket Wrench) |
ประแจกระบอก(Socket Wrench) หน้าที่ ประแจชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับประแจแหวน แต่ลักษณะที่แตกต่างกันจะอยู่ตรงที่ตัวประแจจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือด้ามประแจ (Cheater Bar) และหัวประแจ (Socket) ในส่วนของด้ามประแจนั้น ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นด้ามจับ อีกด้านจะมีลักษณะเป็นหัวต่อ เพื่อนำไปต่อกับหัวประแจอีกทีหนึ่ง ลักษณะพิเศษของหัวต่อ คือสามารถหมุนได้ในทิศทางเดียว ทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น (ภาษาช่างรุ่นเก๋ามักเรียกว่าประแจชนิดนี้ว่ากรอกแกรก ที่มาของชื่อน่าจะเป็นเพราะเสียงของมันเวลาใช้งานดังกรอกแกรก) ส่วนที่หัวประแจจะมีลักษณะเป็นบล็อกหกเหลี่ยมตามขนาดของแป้นเกลียว หัวประแจนอกจากจะมีลักษณะเป็นบล็อกแล้ว ยังมีลักษณะเป็นรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น หัวเป็นไขควง, ประแจหกเหลี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างข้อต่อประแจปรับได้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ข้ออ่อน” จะทำให้สามารถทำงานได้หลายทิศทางมากยิ่งขึ้น
การใช้งานประแจด้วยความปลอดภัยสามารถทำได้ ดังนี้
- เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปากและความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้ามให้ยาวกว่าปกติ
- ปากของประแจต้องไม่ชำรุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว
- เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวนอตหรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดีและคลุมเต็มหัวน๊อต
- การจับประแจสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคงและสมดุล
- การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อมสำหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย
- ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจเหล่านี้ใช้ไม่ได้จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน แทน
- การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อนหรือประแจจับแป๊ป ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ
- การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวนอตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน
- ปากและด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ำมันหรือจาระบี
- การขันนอตหรือสกรูที่อยู่ในที่แคบหรือลึก ให้ใช้ประแจบ๊อก เพราะปากของประแจบ๊อกจะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้ขณะขน ประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวนอตหรือหัวสกรู
- ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวนอตหรือสกรูที่จะนำกลับมาใช้อีกเพราะหัวนอตหรือสกรูจะเสียรูป
- การเก็บประแจควรจะมีสถานที่จัดเก็บเฉพาะ ซึ่งแห้งและปราศจากจาระบีหรือน้ำมัน ถ้าจะให้ดีควรใช้วิธีแขวนไว้กับแผงไม้หรือใส่กล่องเฉพาะ
Advertisment
ขอบคุณเนื้อหาจาก www.thaieditorial.com
เรียบเรียง http://cointwashingmachine.blogspot.com/
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ประแจ
0 Comments