ประแจเครื่องมือช่างที่ต้องมี ชนิดของประแจพร้อมรูป

วิธีใช้ประแจ, หน้าที่, ประแจเป็นเครื่องมือช่างขาดไม่ได้ เพราะเป็นด่านแรกที่จะทำการเปิดประตูซ่อม ไม่ว่าช่างซ่อมเครื่อง ซ่อมมอเตอร์ไซค์ ซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า ซ่อมประปา ติดตั้งงานต่างๆ ขันเกลียว น๊อต หรือ ยึด อุปกรณ์ต่างๆ มีลักษณะเป็นด้ามยาวส่วนหัวมีรูปทรงพอดีกับอุปกรณ์ เพื่อใช้สำหรับล็อกอุปกรณ์เช่นน๊อต ผลิตจากเหล็กกล้าโดยส่วนใหญ่

ประเภทของประแจ พร้อมรูป




Advertisment


ประแจคอม้า (straight pipe wrench)

ประแจ, ประแจคอม้า
ประแจ, ประแจคอม้า
ประแจคอม้า (straight pipe wrench) หน้าที่ เป็นประแจที่ปรับขนาดได้ สำหรับใช้ในงานขันท่อโลหะ หรือข้อต่อที่มีผิวกลม ประแจชนิดนี้ออกแบบให้ฟันของประแจที่หน้าสัมผัส กินเข้าไปในผิวสัมผัสในขณะใช้งาน เพื่อให้จับชิ้นงานได้แน่นหนา จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ขันน็อต เพราะจะทำให้หัวน็อตเสียหาย

ผู้สร้าง ประแจชนิดนี้ออกแบบโดย Daniel C. Stillson เมื่อ ค.ศ. 1869 [1] บางครั้งจึงเรียกว่า ประแจ Stillson

ประแจเลื่อน ( Crescent wrench)

ประแจ, ประแจเลื่อน
ประแจ, ประแจเลื่อน
ประแจเลื่อน ( Crescent wrench) หน้าที่ เป็นประแจ ที่เอาไว้เอาไว้ขันเข้าออกหัวน๊อต 6 เหลี่ยม เป็นประแจช่างที่จำเป็นต้องมี ไม่ว่าจะเป็นงานใหญ่ หรือเล็ก ประแจประเภทนี้สามารถปรับขนาดในการจับได้ ขนาดราคาของประแจขึ้นกับใหญ่ หรือเล็ก


ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench)

ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench)
ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench), http://www.inventor.in.th/

ประแจปากตายคู่(Open-end Wrench) หน้าที่ เป็นประแจ ที่มีปลายทั้งสองด้านมีลักษณะเป็นรูปตัวยู (U) ซึ่งจะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน ประแจชนิดนี้เหมาะกับงานในที่แคบมากที่สุด ในการใช้งานจะต้องระวังอย่าขันแน่นมากเกินไป เพราะจะทำให้สลักเกลียวชำรุดเสียหายได้

ประแจปากตายเดี่ยว


ประแจปากตายเดี่ยว
ประแจปากตายเดี่ยว

ประแจปากตายเดี่ยว เป็นประแจที่คล้ายกับ ประแจปากตายคู่ ต่างกันเพียงมีประแจด้านเดียว ส่วนอีกด้านเป็นด้ามจับ การใช้งานก็เหมือนกัน


ประแจแหวนคู่


ประแจแหวนคู่
ประแจแหวนคู่

ประแจแหวนคู่ ทำหน้าที่ จับแป้นเกลียวและสลักเกลียวให้กระชับและมั่นคงมากขึ้น โดยที่ปลายทั้ง 2 ด้านมีลักษณะเป็นวงแหวน และภายในวงแหวนจะมีเขี้ยวอยู่ประมาณ 6-12 เขี้ยว

ประแจแหวนเดี่ยว (Single Offset Ring Wrench)


ประแจแหวนเดี่ยว (Single Offset Ring Wrench) ทำหน้าที่ เหมือนกับประแจแหวนคู่ แต่มีด้ามสำหรับงานที่ต้องการความแน่น ซึ่งต้องมีด้ามต่อเพื่อรับน้ำหนักในการขันให้แน่น


ประแจกระบอก(Socket Wrench)

ประแจกระบอก(Socket Wrench)
ประแจกระบอก(Socket Wrench)

ประแจกระบอก(Socket Wrench) หน้าที่ ประแจชนิดนี้สามารถนำไปใช้งานได้เหมือนกับประแจแหวน แต่ลักษณะที่แตกต่างกันจะอยู่ตรงที่ตัวประแจจะประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือด้ามประแจ (Cheater Bar) และหัวประแจ (Socket) ในส่วนของด้ามประแจนั้น ปลายด้านหนึ่งจะมีลักษณะเป็นด้ามจับ อีกด้านจะมีลักษณะเป็นหัวต่อ เพื่อนำไปต่อกับหัวประแจอีกทีหนึ่ง ลักษณะพิเศษของหัวต่อ คือสามารถหมุนได้ในทิศทางเดียว ทำให้สะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น (ภาษาช่างรุ่นเก๋ามักเรียกว่าประแจชนิดนี้ว่ากรอกแกรก ที่มาของชื่อน่าจะเป็นเพราะเสียงของมันเวลาใช้งานดังกรอกแกรก) ส่วนที่หัวประแจจะมีลักษณะเป็นบล็อกหกเหลี่ยมตามขนาดของแป้นเกลียว หัวประแจนอกจากจะมีลักษณะเป็นบล็อกแล้ว ยังมีลักษณะเป็นรูปแบบอื่นๆ อีก เช่น หัวเป็นไขควง, ประแจหกเหลี่ยม เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์เสริมอย่างข้อต่อประแจปรับได้ หรือบางครั้งจะเรียกว่า “ข้ออ่อน” จะทำให้สามารถทำงานได้หลายทิศทางมากยิ่งขึ้น

การใช้งานประแจด้วยความปลอดภัยสามารถทำได้ ดังนี้


  • เลือกใช้ประแจที่มีขนาดของปากและความยาวของด้ามที่เหมาะสมกับงานที่ใช้ ไม่ควรต่อด้ามให้ยาวกว่าปกติ
  • ปากของประแจต้องไม่ชำรุด เช่น สึกหรอ ถ่างออก หรือร้าว
  • เมื่อสวมใส่ประแจเข้ากับหัวนอตหรือหัวสกรูแล้ว ปากของประแจต้องแน่นพอดีและคลุมเต็มหัวน๊อต
  • การจับประแจสำหรับผู้ถนัดมือขวา ให้ใช้มือขวาจับปลายประแจ ส่วนมือซ้ายหาที่ยึดให้มั่นคง ร่างกายต้องอยู่ในสภาพมั่นคงและสมดุล
  • การขันประแจไม่ว่าจะเป็นขันให้แน่น หรือคลายต้องใช้วิธีดึงเข้าหาตัวเสมอ และเตรียมพร้อมสำหรับปากประแจหลุดขณะขันด้วย
  • ควรเลือกให้ประแจชนิดปากปรับไม่ได้ก่อน เช่น ประแจแหวน หรือประแจปากตาย ถ้าประแจเหล่านี้ใช้ไม่ได้จึงค่อยเลือกใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อน แทน
  • การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ เช่น ประแจเลื่อนหรือประแจจับแป๊ป ต้องให้ปากด้านที่เลื่อนได้อยู่ติดกับผู้ใช้เสมอ
  • การใช้ประแจชนิดปากปรับได้ ต้องปรับปากประแจให้แน่นกับหัวนอตก่อน จึงค่อยออกแรงขัน
  • ปากและด้ามของประแจต้องแห้งปราศจากน้ำมันหรือจาระบี
  • การขันนอตหรือสกรูที่อยู่ในที่แคบหรือลึก ให้ใช้ประแจบ๊อก เพราะปากของประแจบ๊อกจะยาว สามารถสอดเข้าไปในรูที่คับแคบได้ขณะขน ประแจต้องอยู่ระนาบเดียวกันกับหัวนอตหรือหัวสกรู
  • ไม่ควรใช้ประแจชนิดปากปรับได้กับหัวนอตหรือสกรูที่จะนำกลับมาใช้อีกเพราะหัวนอตหรือสกรูจะเสียรูป
  • การเก็บประแจควรจะมีสถานที่จัดเก็บเฉพาะ ซึ่งแห้งและปราศจากจาระบีหรือน้ำมัน ถ้าจะให้ดีควรใช้วิธีแขวนไว้กับแผงไม้หรือใส่กล่องเฉพาะ


Advertisment


ขอบคุณเนื้อหาจาก www.thaieditorial.com
เรียบเรียง http://cointwashingmachine.blogspot.com/
ที่มา https://th.wikipedia.org/wiki/ประแจ